Export and Share
Want to tell the world about this? Download this image to easily share on social media or for a beautiful presentation!
Download
Opinions
Stories
About
Engagement
Reports
สำหรับโรงเรียนและสถานศึกษา
Join Now
SELECT COUNTRY
Afghanistan
Angola
Argentina
Bangladesh
Barbados
Belize
Benin
Bolivia
Bosnia and Herzegovina
Botswana
Brazil
Bulgaria
Burkina Faso
Burundi
Cameroun
Canada
CAR
Chile
Congo Brazzaville
Costa Rica
Cote d'ivoire
Croatia
DRC
Eastern Caribbean Area
Ecuador
El Salvador
Eswatini
Europe
France
FSM
Gabon
Gambia
Ghana
Greece
Guatemala
Guinea
Haiti
Honduras
India
Indonesia
Iraq
Ireland
Italia
Jamaica
Jordan
Kenya
Kiribati
Kyrgyzstan
Lebanon
Lesotho
Liberia
Macedona
Madagascar
Malawi
Malaysia
Mali
Mauritania
Mexico
Moldova
Morocco
Mozambique
Myanmar
Nepal
Nicaragua
Niger
Nigeria
Nigeria24x7
Norge
OECS
On the move
Pacific
Pakistan
Panama
Paraguay
Philippines
PNG
România
Senegal
Serbia
Sierra Leone
Solomon Islands
South Africa
South Asia
Sverige
São Tomé and Príncipe
Tanzania
Tchad
Thailand
Trinidad and Tobago
Tunisia
Uganda
Ukraine
Uniendo Voces - Bolivia
Uniendo Voces - Brasil
Uniendo Voces - Ecuador
Uzbekistan
Vietnam
Western Balkans
Zambia
Zimbabwe
SELECT YOUR COUNTRY
Engagement
About
Reports
สำหรับโรงเรียนและสถานศึกษา
Join Now
Opinions
Stories
Join U-Report, Your voice matters.
Join Now
STORY
เสียง (ที่ไม่ได้ยิน) ของคนในครอบครัว
เขียนโดย อติรุจ ดือแระ
กราฟฟิกโดย
ศุภโชค ทัยธิษา
เสียง(ที่ไม่ได้ยิน)ของคนในครอบครัว
เวลารู้สึกเหงาๆ เศร้าๆ หรือเพิ่งเจอกับเรื่องร้ายๆในชีวิตมา เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนเลือกพาร่างกายและหัวใจกลับไปที่ “บ้าน” เพื่อชาร์ทพลังงานชีวิตหรือเพื่อระบายปัญหาให้ใครสักคนในครอบครัวฟัง เพราะมั่นใจว่าพวกเขาเหล่านั้นคือคนที่รักเรามากที่สุด จึงน่าจะรับฟังเราโดยไม่เกิดอาการเบื่อหน่ายเหมือนกับคนอื่นๆ แต่หลายครั้งกลับต้องเจอกับความผิดหวัง เปล่าเปลี่ยว เหมือนตัวคนเดียว เมื่อคนในครอบครัวตอบสนองเราด้วยท่าทีเมินเฉยและห่างเหินกับเราเกินที่จะเล่าเรื่องสักเรื่องให้เขาฟัง เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่าสถานการณ์แย่ๆเช่นนี้เกิดขึ้นในครอบครัวที่เคยสุขสันต์ของเราได้อย่างไร?
เสียงของเรื่องเล่าและความรักที่เเผ่วลง
ระหว่างนั่งดูรายการโทรทัศน์ ทำงานบ้าน หรือขณะนั่งรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว ยังคงใช้ช่วงเวลาดีๆเหล่านี้พูดคุยถึงชีวิตของกันและกันอยู่ไหม? เคยเก็บเรื่องเล่าตลก มันส์ ฮา หรือเศร้าๆ ร้ายๆในแต่ละวันของชีวิตมาเล่าสู่กันฟังให้คนในครอบครัวรับรู้อยู่บ้างหรือเปล่า อาจเป็นเรื่องในโรงเรียน มหาวิทยาลัย บนรถเมล์ หรือในความฝันขณะนอนหลับ หากพฤติกรรมเช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นสม่ำเสมอในครอบครัวของใคร ก็ต้องขอดีใจด้วย เพราะแสดงให้เห็นว่าครอบครัวยังคงมีสายสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้นระหว่างกัน แต่หากรู้สึกว่าคนในครอบครัวของเราเองคุยกันน้อยลง และมักจะเก็บเรื่องราวชีวิตไว้เพียงลำพัง ก็ต้องขอเตือนด้วยความหวังดีว่านั้นคือสัญญาณบอกให้เราทราบว่า
“คนในครอบครัวของเราเองเริ่มมีโลกส่วนตัวมากเกินไป”
และหากปล่อยไว้ให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของครอบครัวในระยะยาวแน่ จริงๆมีปัจจัยอยู่หลายประการที่จะสนับสนุนให้ครอบครัวของเราเป็นแบบประเภทที่สอง ผลจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ จะบีบบังคับให้เราต้องหนีทุ่งมุ่งเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ใฝ่หาการศึกษาที่ครบครันมากกว่า รวมถึงงานที่มีตัวเลือกหลากหลาย ระยะห่างระหว่างเรากับพ่อแม่หรือญาติพี่น้องก็จะถูกถางให้กว้างและไกลขึ้น การพูดคุยชนิดพบหน้ากันตัวต่อตัวจะค่อยๆหายไป ตามระยะเวลาที่ห่างกัน นอกจากนี้สื่อออนไลน์ที่สมาชิกในครอบครัวซึ่งสร้างกรอบความเป็นส่วนตัวให้เพิ่มขึ้น ก็มีผลให้แต่ละคนคุยกันน้อยลง หลายครั้งจึงพบว่าสถานการณ์ชีวิตของสมาชิกภายในครอบครัวมักถูกสื่อผ่าน “โพสต์ในเฟซบุ๊ก” หรือบันทึกลง “สตอรี่ไอจี” มากกว่าที่จะเล่ากันผ่านปากต่อปาก ตัวต่อตัว
เสียงของความฝันที่ถูกปิดกั้น
“ความใฝ่ฝัน” เป็นสิ่งที่เราทุกคนมีเป็นของตัวเอง
เป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นเสรีภาพทางความคิดที่ไม่ควรถูกกีดกัน บางคนฝันอยากจะเป็นครู ข้าราชการ
หรือนักธุรกิจ แต่บ่อยครั้งเราก็พบว่าเสียงของความฝันเหล่านั้น ไม่มีความหมายพอต่ออนาคตที่แท้จริงของเราเลย
เพราะมีคน(ที่หวังดี)จากในครอบครัว ทำหน้าที่แสดงบทบาทเป็นผู้กำกับเส้นทางฝันของเราอย่างเบ็ดเสร็จ มีเพื่อนของเราหลายคนที่ถูกจัดวางตารางชีวิตมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษา กระทั่งจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยก็แทบจะไม่มีสิทธิ์เลือกคณะที่ใช่หรือมหาวิทยาลัยที่ชอบ แต่มักถูกครอบงำด้วยเหตุผลทางชื่อเสียงหรือค่านิยมของสังคมมากกว่า
ข่าวการฆ่าตัวตายของเยาวชนที่มีความฝันไม่ตรงกับความต้องการของพ่อแม่จึงมักปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้งโดย
เฉพาะในช่วงแอดมินชั่นเข้ามหาวิทยาลัย
"ความหวังดีที่เกินขอบเขตและไม่รับฟังเสียงแห่งเหตุและผลของสมาชิกในครอบครัว จึงคล้ายฉนวนหรือฟืนที่สามารถจุดไฟแห่งความขัดแย้งให้ลุกโชนขึ้นในครอบครัวได้เสมอ"
ประเด็นดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในบริบทระหว่างพ่อแม่กับลูกเพียงเท่านั้น ความไม่ลงรอยทางคิดระหว่างสามีและภรรยาก็สามารถเกิดขึ้นได้
เสียงเเห่งความห่วงใยที่ไร้เวลา
เช้าตื่นมาลูกยังหลับ เย็นกลับจากที่ทำงานก็ตะวันลับขอบฟ้า ลูกๆก็เข้านอนกันหมดแล้ว เชื่อว่าวัฏจักรเช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นในหลายครอบครัว โดยเฉพาะกับครอบครัวที่พ่อแม่ทำงานบริษัทหรือรับราชการซึ่งเป็นงานประจำที่กำหนดเวลาตายตัว
วันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็มีอบรม สัมมนา เวลาที่จะพูดคุยอบรมลูกให้เติบโตเป็นคนดีจึงแทบจะไม่มีให้เลย ในทางตรงกันข้ามคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่แก่ชราก็ถูกละเลยทางความรู้สึกห่วงใยเช่นกัน หลายคนอาจคิดว่าเวลาที่มีอยู่จำกัดในแต่ละวันควรถูกใช้เพื่อหาเงิน เพราะหากมีเงินหรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ความสุขในครอบครัวก็จะตามมา กระทั่งคิดเลยเถิดไปถึงขั้นว่าเพียงให้เงินเดือนกับพ่อแม่ที่แก่ชราก็เพียงพอแล้วต่อการตอบแทนบุญคุณ ความรักและความห่วงใยจึงถูกตัดให้ขาดสะบั้นลง ในความเป็นจริง
"อย่างน้อยคำถามที่ดังขึ้นว่า “สบายดีไหม”หรือ “ทานอะไรหรือยัง” ก็น่าจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าเพียงกระดาษที่ชื่อว่าเงิน"
ถึงตรงนี้คงพอจะทราบกันบ้างแล้วว่า “การรับฟังเสียงของคนในครอบครัว” มีความสำคัญมากแค่ไหน ผลที่เกิดจากการสร้างความรักความเข้าใจในลักษณะนี้จึงไม่เพียงแค่ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ที่ยืนยาวของคนในครอบครัวเท่านั้น
ในความเป็นจริงนี่คืออีกหนึ่งวิธีที่ยั่งยืนในการสร้างสังคมของเราให้น่าอยู่ เพราะเมื่อไหร่ที่สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสังคมสามารถสร้างบรรยากาศความรัก ความอบอุ่น และรับฟังเหตุและผลกันมากขึ้นแล้ว ปัญหาสังคมเช่น การติดการพนัน ยาเสพติด อาชญากรรมหรือการฆ่าตัวตายเพราะสิ้นหวังท้อแท้ก็คงจะลดระดับลงได้บ้าง “เปิดหู เปิดใจ และให้เวลากับคนในครอบครัว อย่าปล่อยให้ความห่วงใยของเราทำหน้าที่ในวันที่สายเกินไป วันที่ใครบางคนไร้ลมหายใจ ”
ศาสนาและการอยู่ร่วมกัน: ประสบการณ์จากสามจังหวัดชายแดนใต้
READ MORE
ศาสนากับห้องเรียน
READ MORE
เรื่องรักษ์ๆของเยาวชน: ตัวแทนชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม มธ.
READ MORE
See by the numbers how we are engaging youth voices for positive social change.
EXPLORE ENGAGEMENT
Opinions
Stories
About
Engagement
Bots
Reports
Login